แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ชื่อสารละลาย ปีการศึกษา
2559
แผนการจัดการเรียนรู้ที่
5 เรื่อง สมบัติสารละลายกรด-เบส เวลาเรียน
1 ชั่วโมง
ผู้สอน
นางสาวรุ่งนภา สกุลซ่ง โรงเรียน
วันที่สอน เวลาสอน
1.มาตรฐานการเรียนรู้ (มาตรฐาน/ตัวชี้วัด)
มาตรฐาน ว 3.1เข้าใจสมบัติของสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 3.1 ม. 1/3
ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
จากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
และผู้เรียนทำการทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลายได้
บทบาทครู
|
บทบาทผู้เรียน
|
Plan
|
Desing
|
Management
|
Learning
|
Evaluation
|
Assessment
|
2.ออกแบบการสอน
ผู้เรียนเลือกสื่อการสอน ได้แก่ พาวเวอร์พ้อย วีดีโอ ทำการทดลองจากสื่อจริง หนังสือเรียน ใบความรู้ ที่ผู้เรียนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
3.สื่อการสอนที่ดีที่สุด
วีดีโอ ใบความรู้ ทำการทดลองจากสื่อจริง
4.วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่
สอนแบบสืบเสาะหาความรู้(5E)สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิตการสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้
5.การสอนที่เหมาะสม
ผู้เรียนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรู้จักตนเอง(5 นาที) - วิเคราะห์ตนเองโดยให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องสมบัติกรด-เบสของสารละลาย - รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จากนั้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องสมบัติกรด-เบสของสารละลาย
ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและใหม่(5 นาที) - การเตรียมความพร้อมผู้เรียน นั่งสมาธิ 3 นาที พร้อมทั้งพิจารณาว่าสารละลายใกล้ตัวของนักเรียนที่พบในชีวิตประจำวันสิ่งใดมีสมบัติเป็นกรดหรือเป็นเบสการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยใช้คำถามในการกระตุ้นนักเรียน “นักเรียนคิดว่ามีสารใดบ้างที่มนุษย์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน” (แนวคำตอบ : แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน) “เพราะเหตุใด เราจึงไม่นำน้ำยาล้างห้องน้ำมาถูตัว ทั้งๆ ที่เป็นน้ำยาทำความสะอาดเหมือนกัน” (แนวคำตอบ : เพราะสารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกัน เหมาะแก่การใช้งานต่างกัน น้ำยาล้างห้องน้ำมีสมบัติเป้นกรด ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนและทำให้ผิวหนังระคายเคือง)
ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ (15นาที) - การตั้งประเด็น “แล้วนักเรียนทราบวิธีการตรวจสอบสารที่มีสมบัติกรด-เบสหรือไม่” (แนวคำตอบ : ทราบ ตรวจสอบโดยใช้กระดาลิตมัส) “กระดาษลิตมัสมีลักษณะอย่างไร” (แนวคำตอบ : กระดาษลิตมัสมี 2 สี คือ สีแดงกับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินไปจุ่มในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง และถ้าจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน) - ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อทำการทดลองให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับใบความรู้เรื่อง สมบัติสารละลายกรด-เบส และใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัสพร้อมอุปกรณ์การทดลอง”(กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงิน ชนิดละ 5 แผ่น,สารละลายโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง)1 cm3, น้ำส้มสายชู 1 cm3, น้ำสบู่ 1 cm3, สารละลายผงซักฟอก 1 cm3 และน้ำเปล่า 1 cm3) - ลงมือปฏิบัติ ให้ศึกษาวิธีการทำกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส ให้เข้าใจโดยวิธีทำดังนี้
1.นำกระดาษลิตมัสมาจุ่มลงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ วางอยู่บนกระดาษสีขาว สังเกตและบันทึกผลลงในสมุด 2.ทำการทดลองซ้ำข้อที่ 1 แต่ใช้น้ำอัดลม น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำสบู่ สารละลายผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำและน้ำเปล่าแทนสารละลายโซเดียมคลอไรด์ตามลำดับ บันทึกผลลงในใบกิจกรรม
- การวิเคราะห์ นักเรียนแต่ละกลุ่มรวมกันทำการทดลองและคิดวิเคราะห์ผลการทดลองว่า “เหตุใดกระดาษลิตมัสจึงเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน หรือจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง หรือไม่เกิดการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส” - การสังเคราะห์/สรุปผล นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปผลการทดลองว่า “สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นเบส กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นกรด และกระดาษลิตมัสไม่เกิดการเปลี่ยนสี แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นกลาง”
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล (15นาที)
- การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ครูให้ตัวแทน 3 กลุ่มออกมานำเสนอผลหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลจากการทำการทดลอง และให้เพื่อนกลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นว่ามีส่วนเหมือนหรือต่างกับเพื่อนที่นำเสนอหรือไม่ โดยได้ข้อสรุปดังนี้“สารละลายตัวอย่าง น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำยาล้างห้องน้ำ และน้ำอัดลม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงแสดงว่ามีคุณสมบัติเป็นกรด ส่วนน้ำสบู่ ผงซักฟอก เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแสดงว่ามีคุณสมบัติเป็นเบส และสารละลายโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง) น้ำเปล่าเป็นกลุ่มที่มีสมบัติเป็นกลางจึงทำให้กระดาษลิตมัสทั้งสองสีไม่มีการเปลี่ยนสี”
- การประเมินผล ครูประเมินผลความถูกต้องจากการนำเสนอ และใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส - การขยายความรู้เพิ่มเติม จากนั้นครูอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมว่า “นอกจากวิธีการทดสอบกรด-เบสด้วยกระดาษลิตมัสแล้ว ยังสามารถทดสอบด้วยกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ และสารละลายฟีนอล์ฟทารีนได้อีกด้วยสมบัติของสารละลายกรดนอกจากเปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงแล้วยังมีรสเปรี้ยว ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม สารละลายกรดสามารถนำไฟฟ้าได้ และทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ ส่วนสมบัติของสารละลายเบสที่นอกจากเปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแล้ว จะมีรสขม ฝาด สัมผัสแล้วลื่นมือ ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม ผสมกับน้ำมันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ สารละลายเบสสามารถนำไฟฟ้าได้ และทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ”
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้และการประยุกต์ (10นาที)
- การอภิปราย “จากที่เราได้เรียนรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส มาแล้ว ให้นักเรียนยกตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด กลาง และเบส ที่พบในชีวิตประจำวัน” (แนวคำตอบ : น้ำส้มมีสมบัติเป็นกรด น้ำเปล่ามีสมบัติเป็นกลาง น้ำสบู่มีสมบัติเป็นเบส)
- การนำเสนอ โดยให้ผู้เรียนทำมาเป็นแผนผังความคิดเกี่ยวกับสารละลายกรด-เบสที่พบในชีวิตประจำวัน - การสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนเขียนชื่อสารที่พบภายในบ้านมา 10 ชนิด พร้อมกับระบุว่าสารใดมีสมบัติเป็นกรดหรือเป็นเบส แล้วนำมาส่งในชั่วโมงถัดไป “ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง สมบัติของสารละลายในชีวิตประจำวัน”
ขั้นที่ 1 การรู้จักตนเอง(5 นาที) - วิเคราะห์ตนเองโดยให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องสมบัติกรด-เบสของสารละลาย - รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จากนั้นให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องสมบัติกรด-เบสของสารละลาย
ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและใหม่(5 นาที) - การเตรียมความพร้อมผู้เรียน นั่งสมาธิ 3 นาที พร้อมทั้งพิจารณาว่าสารละลายใกล้ตัวของนักเรียนที่พบในชีวิตประจำวันสิ่งใดมีสมบัติเป็นกรดหรือเป็นเบสการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยใช้คำถามในการกระตุ้นนักเรียน “นักเรียนคิดว่ามีสารใดบ้างที่มนุษย์นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน” (แนวคำตอบ : แชมพู ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน) “เพราะเหตุใด เราจึงไม่นำน้ำยาล้างห้องน้ำมาถูตัว ทั้งๆ ที่เป็นน้ำยาทำความสะอาดเหมือนกัน” (แนวคำตอบ : เพราะสารแต่ละชนิดมีสมบัติไม่เหมือนกัน เหมาะแก่การใช้งานต่างกัน น้ำยาล้างห้องน้ำมีสมบัติเป้นกรด ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนและทำให้ผิวหนังระคายเคือง)
ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ (15นาที) - การตั้งประเด็น “แล้วนักเรียนทราบวิธีการตรวจสอบสารที่มีสมบัติกรด-เบสหรือไม่” (แนวคำตอบ : ทราบ ตรวจสอบโดยใช้กระดาลิตมัส) “กระดาษลิตมัสมีลักษณะอย่างไร” (แนวคำตอบ : กระดาษลิตมัสมี 2 สี คือ สีแดงกับสีน้ำเงิน ถ้านำกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินไปจุ่มในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง และถ้าจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน) - ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อทำการทดลองให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมารับใบความรู้เรื่อง สมบัติสารละลายกรด-เบส และใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัสพร้อมอุปกรณ์การทดลอง”(กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้ำเงิน ชนิดละ 5 แผ่น,สารละลายโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง)1 cm3, น้ำส้มสายชู 1 cm3, น้ำสบู่ 1 cm3, สารละลายผงซักฟอก 1 cm3 และน้ำเปล่า 1 cm3) - ลงมือปฏิบัติ ให้ศึกษาวิธีการทำกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส ให้เข้าใจโดยวิธีทำดังนี้
1.นำกระดาษลิตมัสมาจุ่มลงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ วางอยู่บนกระดาษสีขาว สังเกตและบันทึกผลลงในสมุด 2.ทำการทดลองซ้ำข้อที่ 1 แต่ใช้น้ำอัดลม น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำสบู่ สารละลายผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำและน้ำเปล่าแทนสารละลายโซเดียมคลอไรด์ตามลำดับ บันทึกผลลงในใบกิจกรรม
- การวิเคราะห์ นักเรียนแต่ละกลุ่มรวมกันทำการทดลองและคิดวิเคราะห์ผลการทดลองว่า “เหตุใดกระดาษลิตมัสจึงเกิดการเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน หรือจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง หรือไม่เกิดการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส” - การสังเคราะห์/สรุปผล นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปผลการทดลองว่า “สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นเบส กระดาษลิตมัสเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นกรด และกระดาษลิตมัสไม่เกิดการเปลี่ยนสี แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นกลาง”
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล (15นาที)
- การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ครูให้ตัวแทน 3 กลุ่มออกมานำเสนอผลหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปผลจากการทำการทดลอง และให้เพื่อนกลุ่มอื่นแสดงความคิดเห็นว่ามีส่วนเหมือนหรือต่างกับเพื่อนที่นำเสนอหรือไม่ โดยได้ข้อสรุปดังนี้“สารละลายตัวอย่าง น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู น้ำยาล้างห้องน้ำ และน้ำอัดลม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงแสดงว่ามีคุณสมบัติเป็นกรด ส่วนน้ำสบู่ ผงซักฟอก เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแสดงว่ามีคุณสมบัติเป็นเบส และสารละลายโซเดียมคลอไรด์(เกลือแกง) น้ำเปล่าเป็นกลุ่มที่มีสมบัติเป็นกลางจึงทำให้กระดาษลิตมัสทั้งสองสีไม่มีการเปลี่ยนสี”
- การประเมินผล ครูประเมินผลความถูกต้องจากการนำเสนอ และใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส - การขยายความรู้เพิ่มเติม จากนั้นครูอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมว่า “นอกจากวิธีการทดสอบกรด-เบสด้วยกระดาษลิตมัสแล้ว ยังสามารถทดสอบด้วยกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ และสารละลายฟีนอล์ฟทารีนได้อีกด้วยสมบัติของสารละลายกรดนอกจากเปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงแล้วยังมีรสเปรี้ยว ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น สังกะสี แมกนีเซียม ทองแดง เงิน อะลูมิเนียม สารละลายกรดสามารถนำไฟฟ้าได้ และทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ ส่วนสมบัติของสารละลายเบสที่นอกจากเปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแล้ว จะมีรสขม ฝาด สัมผัสแล้วลื่นมือ ไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม ผสมกับน้ำมันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาการเกิดสบู่ สารละลายเบสสามารถนำไฟฟ้าได้ และทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ”
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้และการประยุกต์ (10นาที)
- การอภิปราย “จากที่เราได้เรียนรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส มาแล้ว ให้นักเรียนยกตัวอย่างสารที่มีคุณสมบัติเป็นกรด กลาง และเบส ที่พบในชีวิตประจำวัน” (แนวคำตอบ : น้ำส้มมีสมบัติเป็นกรด น้ำเปล่ามีสมบัติเป็นกลาง น้ำสบู่มีสมบัติเป็นเบส)
- การนำเสนอ โดยให้ผู้เรียนทำมาเป็นแผนผังความคิดเกี่ยวกับสารละลายกรด-เบสที่พบในชีวิตประจำวัน - การสะท้อนผลการเรียนรู้ให้นักเรียนเขียนชื่อสารที่พบภายในบ้านมา 10 ชนิด พร้อมกับระบุว่าสารใดมีสมบัติเป็นกรดหรือเป็นเบส แล้วนำมาส่งในชั่วโมงถัดไป “ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง สมบัติของสารละลายในชีวิตประจำวัน”
6.
แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนทำใบกิจกรรมที่
1 เรื่อง การทดสอบสมบัติกรด-เบสของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัตและทำใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง
สมบัติของสารละลายในชีวิตประจำวัน
7.
ผู้เรียนประเมินตนเอง
ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความเข้าใจใน เรื่อง
สมบัติสารละลายกรด-เบสได้มากน้อยเพียงใด
และสามารถทำการทดลองสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารละลายและสามารถยกตัวอย่างที่มีสมบัติเป็นกรด-เบาได้หรือไม่
8.
ผู้สอนประเมินผู้เรียน
ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
ได้แก่ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อการทำงาน
9.
การสืบค้นเพิ่มเติม
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนจากกลุ่ม จากครูผู้สอน ห้องสมุด
และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น